คำอธิบายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มโดย สำนักงาน ก.ล.ต.
https://www.sec.or.th/TH/Pages/LAWANDREGULATIONS/CLASSACTION.aspx
ข้อดีของ Class Action โดย อ.นิว
1. ทำความรู้จักกับการฟ้องกลุ่ม
การฟ้องคดีแบบกลุ่ม (class action) คือ การดำเนินคดีแพ่งที่บุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนได้ดำเนินคดีแพ่งเพื่อตนเองและเพื่อกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน โดยกระบวนการที่ให้ผู้เสียหายจำนวนมากและเสียหายในเรื่องเดียวกัน ได้ตั้ง ‘โจทก์’ ขึ้นเป็นตัวแทนของผู้เสียหายทั้งหมด เพื่อดำเนินกระบวนการทางศาล ถือเป็น ‘การฟ้องคดีคนเดียวแต่คุ้มครองทั้งกลุ่ม’ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยค่าเสียหายแบบเท่าเทียมกันอีกด้วย
ข้อดีของการฟ้องคดีแบบกลุ่ม Class Action
-
- เพิ่มอำนาจต่อรอง เพราะโจทก์เป็นตัวแทนผู้เสียหายทั้งหมด
- ไม่ต้องยึดคำตัดสินตามคดีอาญา ยกเว้นจะเป็นประโยชน์กับโจทก์
- การแยกฟ้องหลายคดี อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบังคับคดี เช่น อาจมีผู้เสียหายหลายรายขอเฉลี่ยทรัพย์ ให้ผู้เสียหายทุกคนได้เงินคืนช้าลง
บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
- ก.ล.ต. และ DSI มีอำนาจในการเรียกตรวจสอบเอกสาร
- ปปง. มีอำนาจตามสืบเส้นทางการโยกย้ายเงิน
- การฟ้อง Class Action สามารถเรียกเอกสารและข้อมูลที่หน่วยงานเหล่านี้มาใช้ได้
- สื่อต่างๆ ทำให้คดีได้รับความสนใจ และมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง
2. รวมตัวกัน และจัดหาทนายความ
-
- รวมพลังผู้เสียหาย และคัดเลือกผู้นำ พร้อมที่จะเป็นตัวแทนกลุ่มเดินขึ้นศาลในฐานะ “โจทย์ผู้เริ่มคดี” และคณะทำงาน
- จัดหาทนายความ ในการยกร่างมูลฟ้อง
- ตกลงวิธีลงขัน และการดำเนินการร่วมกัน
3. ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลพิจารณาเป็นคดีแบบกลุ่ม
ศาลจะเปิดโอกาสให้คู่ความโต้แย้งกัน ว่าเหตุใดศาลจึงต้องรับหรือไม่รับเป็นคดีแบบกลุ่ม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน – 1 ปีก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนต่อไป
ประโยชน์ของการร่วมลงชื่อฟ้องคดีแบบ CLASS ACTION
ชื่อของท่านจะถูกบันทึกว่าประสงค์แสดงตนเป็นสมาชิกกลุ่มผู้เสียหาย เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่าศาลจะกำหนดขอบเขตสมาชิกกลุ่มอย่างไรและครอบคลุมตามที่เราร้องขอหรือไม่ และท่านจะได้รับการติดต่อให้แบ่งรับค่าเสียหายหากการฟ้องคดีสำเร็จ (ชื่อท่านจะไม่ปรากฏในคำฟ้องยกเว้นท่านยินยอมเป็นการเฉพาะ)